ความแตกต่าง ของวัสดุปูพื้นแต่ละแบบ ข้อดี ข้อเสีย ต่าง ๆ

Last updated: 8 ก.พ. 2566  |  5685 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความแตกต่าง ของวัสดุปูพื้นแต่ละแบบ ข้อดี ข้อเสีย ต่าง ๆ

ความแตกต่าง ของวัสดุปูพื้น 


หลายคนอาจจะกำลัง ต่อเติม หรือสร้างบ้าน แต่ยังมีข้อสงสัย ในการเลือกใช้วัสดุที่จะ ใช้ตกแต่งพื้น ในแบบต่าง ๆ คนที่ซื้อบ้านโครงการ ส่วนใหญ่ พื้นชั้นล่าง ก็จะเป็น พื้นกระเบื้องแกรนิตโต้ หรือพื้นกระเบื้องเซรามิค ส่วนชั้นบนก็จะเป็นพื้นไม้ลามิเนต ซึ่งส่วนใหญ่วัสดุที่ติดตั้ง ก็จะเป็นวัสดุคุณภาพกลาง ๆ และบางทีอาจจะหาซื้อตาม ร้านค้าทั่วไปไม่ได้ เนื่องจาก อาจเป็นการสั่งผลิตเฉพาะโครงการ ไม่ได้มีจำหน่ายทั่วไป เมื่อถึงเวลา วัสดุก็จะเสื่อมสภาพลง วันนี้เราจะมาดู Function ของวัสดุแต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไร 



พื้นกระเบื้องยาง
เป็นวัสดุที่มีมานาน มากแล้ว ราคาถูก ใช้เวลาในการติดตั้งไม่นาน และสามารถใช้งานได้ หลังติดตั้งเสร็จ โดยส่วนใหญ่แยกเป็น 2 ชนิดคือ 


 พื้นกระเบื้องยาง ที่ติดตั้งด้วยกาว จะมีความหนา ตั้งแต่




ความหนา 1.6 มม. เหมาะกับพื้นบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป มีการใช้พื้นที่ประมาณ 1-4 คน เท่านั้น 
ความหนา 2.0 มม. เหมาะกับพื้นบ้านที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ สำนักงาน โถงทางเดิน 
ความหนา 2.5 มม. เหมาะกับ พื้นที่มีการใช้งานมาก ๆ เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า
และความหนา 3.2 มม. เหมาะกับพื้นที่ ที่มีการใช้งานที่มีเครื่องจักรหนัก ๆ แต่ต้องการความสะอาด เช่น โรงงาน ที่มีการใช้รถเข็นต่าง ๆ
ข้อดี ราคาถูก ติดตั้งเสร็จสามารถใช้งานได้เลย การดูแลรักษา ง่าย 

ข้อเสีย เมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะ จะมีอาการหดตัว เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย



พื้นกระเบื้องยาง คลิ๊กล็อค ติดตั้งแบบเข้าลิ้น ไม่ต้องใช้กาวในการติดตั้ง ลักษณะการติดตั้งจะคล้ายกับงานพื้นไม้ลามิเนต โดยจะมีความหนา ตั้งแต่ 4-7 มม. แต่มีคุณสมบัติ กันน้ำ กันปลวก ได้ 100% สามารถติดตั้งทับพื้นเดิมได้เลย โดยทั่วไปจะมีเนื้อวัสดุ อยู่ 3 แบบ คือ


  • เนื้อ SPC (Stone Plastic Composite) เป็นพื้นวัสดุ นวัตกรรมใหม่ มีความหนาแน่นของเนื้อวัสดุ ทนทานต่อแรงกดทับ และแข็งแรงกว่า พื้นไม้ลามิเนต และกระเบื้องยางทากาว วัสดุทำจากหินสังเคราะห์ มีความหนา 4-5 มม.         (ตัวที่มีความหนา 5 มม. จะชั้นโฟม IXPE กันน้ำ ทนความร้อน และไม่ลามไฟ)


  • เนื้อวัสดุที่เป็น WPC (Wood Plastic Composite) โดยกรรมวิธีการผลิต โดยการนำผงไม้ผสมกับผงพลาสติก เกรด Virgin ที่ไม่เคยผ่านการ Recycle  ขึ้นรูป ทำให้วัสด WPC ไม่แตกหักง่าย โดยส่วนใหญ่ จะมีความหนา มากกว่า แบบ SPC คือ 7 มม. เนื้อวัสดุเก็บเสียงได้ดีกว่า แต่ความหนาแน่นของเนื้อวัสดุ จะน้อยกว่า SPC


  • เนื้อวัสดุแบบ LVT (Luxury Vinyl Tile) คือ พื้นกระเบื้อง เนื้อ Pure Vinyl 100% เนื้อวัสดุจะมีความยืดหยุ่น มากกว่า วัสดุ 2 ชนิดข้างต้น มีความแข็งแรง และรับแรงกระแทกได้ดี เก็บเสียงได้ดี เพราะเนื้อวัสดุมีความทึบเสียงมากกว่า ข้อได้เปรียบของ LVT คือสามารถติดตั้งบนพื้นที่ ไม่เรียบได้ เนื้องจาก LVT มีความยืดหยุ่นมากว่า SPC และ WPC 




พื้นไม้ลามิเนต
เป็นวัสดุ เลียนแบบพื้นไม้จริง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีความหนาแน่นของวัสดุมากกว่า พื้นไม้จริง หากไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นในพื้นที่ติดตั้ง พื้นไม้ลามิเนต จะมีความทนทานสูงกว่า พื้นไม้จริงทั่วไปมาก เพราะกระบวนการผลิต จะเป็นการนำผงไม้เนื้อแข็งมาบด แล้วขึ้นรูป เป็นแผ่น ๆ โดยจะมีความหนาที่ 8-12 มม.และปิดผิวด้วยลวดลายไม้ เลียนแบบธรรมชาติ 


ข้อดี ของพื้นไม้ลามิเนต คือดูแลรักษาง่าย แข็งแรงทนแรงกดทับได้ดี อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นนุ่มเท้า เพราะการติดตั้งจะมีการ รองโฟม มีหน้าที่ กันกระแทก, ความชื้น, เก็บเสียง ราคาถูกกว่าไม้จริง

ข้อเสีย แต่ข้อเสียหลักของพื้นไม้ลามิเนต คือ ความชื้น หากการใช้งานทั่วไป มีความชื้นจากบนพื้นไม้ลามิเนต จะไม่มีปัญหา เพราะ ผิวสัมผัสที่กันน้ำ และ การเคลือบร่องลิ้นรอยต่อด้วย WAX แต่ความชื้นมักจะมาจาก พื้นชั้นล่างใต้พื้นไม้ลามิเนต เช่น ความชื้นสะสม จาก ผนังรั่ว พื้นหน้าห้องน้ำ พื้นที่ติดระเบียง เมื่อมีความชื้นแทรกตามเนื้อไม้ลามิเนต จะเกิดอาการขยายตัว และปล่อยสารเคมี มีกลิ่นเหม็น และปัญหาเรื่องปลวกก็จะตามมา ไม้ที่บวมแล้วต้องเปลี่ยนใหม่เท่านั้น



กระเบื้องลายไม้
เป็นวัสดุ กระเบื้องเซรามิค พิมพ์ลวดลายเลียนแบบ ลายไม้ ยิ่งมี Texture เหมือนไม้มากเท่าไหร่ราคาก็จะสูง ตามไปด้วย


ข้อดี สามารถติดตั้งกลางแจ้งได้ ติดตั้งในห้องน้ำก็ได้ 

ข้อเสีย น้ำหนักค่อนข้างเยอะ มีความแข็งและเย็น ไม่เหมาะกับพื้นที่ ห้องนอน หรือ ห้องที่มีคนชราและเด็ก ๆ การติดตั้งใช้เวลาค่อนข้างมาก และค่าใช้จ่ายสูงกว่า

สุดท้าย แล้ว วัสดุติดตั้งพื้น แต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน ไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของห้อง ประเด็นที่ต้องสนใจคือ ความทนทาน อายุการใช้งาน ราคาวัสดุ และค่าแรงติดตั้ง และความยากง่าย ในการดูแลรักษา เป็นต้น
 





กระเบื้องยาง SPC คลิ๊กล็อค ADLER

กระเบื้องยาง WPC คลิ๊กล็อค ROCOCO

กระเบื้องยาง LVT คลิ๊กล็อค KRONE'

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้